‘พลังงานแสงอาทิตย์’ หรือ ‘โซลาร์เซลล์’ เป็นพลังงานสะอาดและยั่งยืนที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในประเทศไทย เพราะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้า อีกทั้งยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากโซลาร์เซลล์เป็นพลังงานสะอาดที่สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ ซึ่งก็ใช่ว่าหากสนใจแล้วจะสามารถติดตั้งได้ทันทีตามต้องการ เพราะยังจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายการติดตั้งโซลาร์เซลล์และขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง เพื่อให้การติดตั้งเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ป้องกันการถูกฟ้องร้อง หรือเกิดปัญหาขึ้นในภายหลัง โดยได้รวบรวมเรื่องที่ควรรู้ไว้ในบทความนี้แล้ว
กฎหมายและการประสานงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานรัฐ
การขอดำเนินการติดตั้ง
ในการจะติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ จะต้องยื่นขอต่อหน่วยงานส่วนท้องถิ่น อย่างเทศบาล หรือ อบต. ในเขตพื้นที่ เพื่อขอใบอนุญาตในการก่อสร้าง อ.1 หรือ IEAT 02/2 ในการก่อสร้าง รื้อถอนและทำการดัดแปลงโครงสร้างอาคารเสียก่อน แต่หากติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาขนาดพื้นที่ไม่เกิน 160 ตร.ม. และมีน้ำหนักรวมไม่เกิน 20 กก./ตร.ม. ไม่ถือว่าเป็นการดัดแปลงอาคาร จึงไม่ต้องขอใบอนุญาต แต่ต้องยื่นคำร้องเพื่อแจ้งให้ทราบ โดยต้องมีผลการตรวจสอบความแข็งแรงที่ได้รับการรับรองโดยวิศวกรโยธาตามกฎหมาย ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 1 เดือนครึ่ง และหลังจากได้รับหนังสืออนุญาตแล้วจะสามารถเริ่มทำการติดตั้งได้ทันที
การยื่นคำขอและการอนุญาตการประกอบกิจการไฟฟ้า
สำหรับผู้ประกอบการ หรือองค์กรที่ต้องใช้กำลังไฟฟ้าในการผลิตติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่ จะต้องดำเนินการเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) โดยเป็นไปตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง โดยจะใช้เวลาดำเนินการในด้านเอกสารและการพิจารณาอนุญาตประมาณ 2 เดือน ซึ่งอาจมีข้อยกเว้น เช่น กิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) ที่กำหนดขนาดกำลังการผลิตติดตั้งไม่เกิน 100 กิโลวัตต์ จะไม่ต้องดำเนินการในส่วนนี้
การแจ้งยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตการซื้อขาย
สำหรับผู้ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาเพื่อใช้ภายในอาคาร หรือกิจการซึ่งไม่ได้จำหน่ายเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้า สามารถยื่นเอกสารหลักฐานประกอบ สำหรับการแจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นได้ทางออนไลน์ หรือสำนักงาน กกพ. ประจำเขตในแต่ละพื้นที่อาคารตั้งอยู่
การขออนุญาตเชื่อมต่อโครงข่าย
หลังจากดำเนินการติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะต้องแจ้งการไฟฟ้าในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เพื่อให้เข้าตรวจสอบและทดสอบการเชื่อมต่อของระบบโซลาร์เซลล์กับไฟของการไฟฟ้า พร้อมชำระค่าใช้จ่ายตามที่การไฟฟ้ากำหนด
การติดตั้งระบบอินเวอร์เตอร์
ในการติดตั้งระบบอินเวอร์เตอร์ มีสิ่งที่อาจเกี่ยวข้องกับกฎหมายการติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่ต้องพิจารณา คือ การตรวจสอบชุดอุปกรณ์ก่อนเสมอว่าได้รับการรับรองมาตรฐานจาก กฟภ. หรือ กฟน. หรือไม่ เนื่องจากอาจมีเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบชุดอุปกรณ์และทดสอบการทำงานของระบบเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของระบบโซลาร์เซลล์ จึงควรดำเนินการเลือกและติดตั้งอินเวอร์เตอร์ให้ถูกต้องตามมาตรฐานและตามกฎหมาย เพื่อป้องกันการโดนตรวจสอบภายหลัง
การติดตั้งตามมาตรฐานระบบหยุดทำงานฉุกเฉิน
ถึงแม้ระบบโซลาร์เซลล์จะได้รับการพัฒนาจนมีประสิทธิภาพในด้านการผลิตไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยแล้ว แต่ก็มีโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นได้ ทางกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน รวมถึงสภาวิศวกรแห่งประเทศไทยจึงมีการออกมาตรการในการติดตั้งมาตรฐานระบบหยุดทำงานฉุกเฉิน หรือระบบ Rapid Shutdown ตามมาตรฐาน วสท. 022013-22 เพื่อช่วยตัดการทำงาน ลดแรงดันไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยโดยอัตโนมัติเมื่อเกิดการขัดข้อง การติดตั้งระบบหยุดทำงานฉุกเฉินจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยเฉพาะสำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่ที่อาจมีการลุกลามได้ไวและอาจทำให้เกิดปัญหาใหญ่ได้
ขั้นตอนการติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่ควรรู้
ตรวจสอบพื้นที่อาคาร
การตรวจสอบพื้นที่ในการติดตั้งอาคารโซลาร์เซลล์ มีความสำคัญต่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพของระบบโซลาร์เซลล์ โดยมีขั้นตอนการตรวจสอบพื้นที่อาคารโซลาร์เซลล์ทั่วไป ดังนี้
- ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับอาคาร เช่น ประเภทของอาคาร ลักษณะของหลังคา สภาพของหลังคา
- สำรวจพื้นที่อาคารจริง เพื่อตรวจสอบทิศทางและระดับความลาดเอียงของหลังคา สภาพของหลังคา การระบายน้ำ สิ่งกีดขวาง และพื้นที่ว่าง
- วิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจเพื่อประเมินความเหมาะสมในการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์
ออกแบบระบบโซลาร์เซลล์
การออกแบบระบบโซลาร์เซลล์ เป็นขั้นตอนสำคัญในการดำเนินการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ เพื่อให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ซึ่งควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- ปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าเพื่อการใช้งานพลังงานโซลาร์อย่างเหมาะสมและคุ้มค่า
- ทิศทางและระดับความลาดเอียงของหลังคา
- ประเภทของแผงโซลาร์เซลล์
- อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
โดย GreenYellow ให้การออกแบบโดยคำนึงถึงความปลอดภัยในการปฎิบัติงานเป็นอันดับหนึ่ง เพื่อให้สามารถใช้งานระบบได้อย่างสบายใจ ไม่เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง
เลือกซื้ออุปกรณ์โซลาร์เซลล์
นอกจากแผงโซลาร์เซลล์ ยังมีอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกซื้อสำหรับการติดตั้งอีกมากมาย เช่น
- เครื่องแปลงไฟ หรืออินเวอร์เตอร์ ควรเลือกซื้อขนาดประมาณ 85% ของกำลังการติดตั้งของระบบโซลาร์เซลล์
หรือหากต้องการติดโซลาร์เซลล์ On Grid แบบมีแบตเตอรี่เพื่อนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้งานในตอนกลางคืน ก็ต้องคำนึงถึงการเลือกซื้ออุปกรณ์เหล่านี้ด้วย - แบตเตอรี่ ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับกักเก็บพลังงานโซลาร์เซลล์สำหรับไว้ใช้ในภายหลัง โดยควรเลือกแบตเตอรี่ที่มีขนาดความจุของแอมป์เพียงพอต่อการเก็บไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซลาร์เซลล์ และที่ใช้ในตอนกลางคืน
ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ โดยช่างผู้ชำนาญการ
ในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย รวมถึงขั้นตอนในการติดตั้ง ควรได้รับการดูแลและดำเนินการโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์โดยเฉพาะ เพื่อให้สามารถออกแบบ และดำเนินการติตตั้งได้ตามมาตรฐาน International Standards เพื่อเสริมความมั่นใจในการวางแผนและติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ให้เป็นไปอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพมากที่สุด รวมถึงสามารถให้คำปรึกษาในขั้นตอนงานเอกสาร หรือการขออนุญาตได้อย่างถูกต้องไม่ต้องยุ่งยากกับการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์!
เพียงเลือก GreenYellow ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการผลิตไฟฟ้าจากระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ให้บริการดูแลโครงการโซลาร์เซลล์ผ่านโซลูชัน Solar PPA ในทุกๆขั้นตอนการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ตั้งแต่การลงทุน จนถึงการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อใช้งาน พร้อมการดูแลรักษาฟรีตลอดระยะเวลาสัญญา โดยไม่ต้องติดตั้งและดูแลระบบเอง หากสนใจสามารถติดต่อเพื่อรับคำปรึกษา หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-079- 8081 หรืออีเมล gr*********@gr*********.com