การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นประเด็นสำคัญระดับโลกที่ประเทศต่าง ๆ ร่วมมือกันช่วยแก้ไขปัญหา โดยสหภาพยุโรปได้ออกมาตรการ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) เพื่อส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรม มาตรการนี้จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสินค้านำเข้าที่มีการปล่อยคาร์บอนสูงในกระบวนการผลิต โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมหลัก เช่น เหล็ก ปูนซีเมนต์ และอะลูมิเนียม ผู้ประกอบการไทยจึงจำเป็นต้องเข้าใจและเตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายนี้ เพื่อรักษาขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก
เข้าใจพื้นฐาน CBAM คือมาตรการเกี่ยวกับอะไร ?
CBAM ย่อมาจาก Carbon Border Adjustment Mechanism หรือมาตรการปรับภาษีคาร์บอนข้ามพรมแดน ซึ่งเป็นมาตรการของสหภาพยุโรปที่ออกแบบมาเพื่อปรับภาษีสินค้านำเข้าที่มีการปล่อยคาร์บอนสูงจากกระบวนการผลิต โดยต้องการยกระดับมาตรฐานของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมทั่วโลกและกำหนด “ราคาที่เป็นธรรม” สำหรับการปล่อยคาร์บอนที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิตสินค้า เพื่อไม่ให้สินค้าจากประเทศที่ไม่มีมาตรการป้องกันการปล่อยคาร์บอน มีความได้เปรียบจากการผลิตที่มีต้นทุนต่ำกว่า
มาตรการ CBAM เกิดขึ้นจากข้อกังวลเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอุตสาหกรรม ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะสินค้าที่ใช้ในการก่อสร้างและการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตอย่างมาก การปรับภาษีคาร์บอนในประเทศที่มีการปล่อยคาร์บอนสูง จึงช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับโลก โดยสินค้าที่อยู่ภายใต้มาตรการ CBAM ได้แก่
- ปูนซีเมนต์ เนื่องจากอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุด
- เหล็กและเหล็กกล้า เนื่องจากกระบวนการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าต้องใช้พลังงานสูงและปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมาก
- อะลูมิเนียม เนื่องจากการผลิตอะลูมิเนียมต้องใช้พลังงานไฟฟ้าในปริมาณมาก
- ปุ๋ย เนื่องจากกระบวนการผลิตปุ๋ยบางชนิดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- ไฟฟ้า เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำคัญ
- ไฮโดรเจน เนื่องจากการผลิตไฮโดรเจนบางวิธีถือเป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
กลไกการทำงานของ CBAM
CBAM จะคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าแต่ละหน่วย และกำหนดค่าภาษีคาร์บอนที่ผู้ส่งออกต้องชำระเมื่อนำเข้าสินค้าเหล่านั้นเข้าสู่สหภาพยุโรป โดยค่าภาษีคาร์บอนจะขึ้นอยู่กับราคาคาร์บอนในตลาดของสหภาพยุโรป
ทั้งนี้ มาตรการ CBAM จะนำมาใช้งานอย่างเต็มรูปแบบในปี 2026 ซึ่งมีระยะเริ่มดำเนินการเปลี่ยนผ่านตั้งแต่เมื่อปี 2023 ไปจนถึงปี 2025 โดยจะมีการทดสอบและการติดตามอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้แน่ใจว่าประเทศต่าง ๆ จะไม่หลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนด ซึ่งผู้ผลิตจะต้องรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิตสินค้าเพื่อนำมาคำนวณภาษีคาร์บอน หากมีการไม่ปฏิบัติตามมาตรการ CBAM จะมีการลงโทษที่สามารถส่งผลกระทบต่อการนำเข้าสินค้าได้
ผลกระทบต่อธุรกิจไทย
มาตรการ CBAM ไม่เพียงแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมระดับโลก แต่ยังส่งผลกระทบต่อธุรกิจไทย โดยเฉพาะในภาคการส่งออกที่พึ่งพาตลาดสหภาพยุโรปเป็นสำคัญ ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจผลกระทบและเตรียมกลยุทธ์ในการปรับตัวอย่างเหมาะสมเพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขัน
อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ
ดังที่กล่าวไว้ในข้างต้นว่า อุตสาหกรรมที่มีการปล่อยคาร์บอนสูง เช่น เหล็ก ปูนซีเมนต์ อะลูมิเนียม ล้วนเป็นกลุ่มที่อยู่ในความเสี่ยงสูงสุดจากการบังคับใช้มาตรการ CBAM สินค้าในกลุ่มนี้จะมีการคำนวณภาษีคาร์บอนเพิ่มเติม ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตและราคาสินค้าที่ส่งออกสูงขึ้นตามไปด้วย หากไม่มีการปรับตัว อุตสาหกรรมเหล่านี้อาจสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกอย่างมาก
การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการ
เพื่อรับมือกับความท้าทายนี้ ผู้ประกอบการควรเริ่มวิเคราะห์กระบวนการผลิตของตนเองและปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเน้นการลดการปล่อยคาร์บอนผ่านการใช้เทคโนโลยีสะอาดและพลังงานทดแทน เช่น การเปลี่ยนไปใช้พลังงานแสงอาทิตย์ นอกจากนี้ การขอใบรับรอง I-REC เพื่อยืนยันการใช้พลังงานสะอาดจะสามารถช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือในสายตาของคู่ค้าระหว่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นโอกาสการลดต้นทุนในระยะยาว
โอกาสในการพัฒนาสู่อุตสาหกรรมสีเขียว
CBAM ถือได้ว่าเป็นความท้าทายใหม่สำหรับผู้ประกอบการ ทั้งยังเป็นโอกาสสำคัญในการเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมสีเขียว การลงทุนในเทคโนโลยีที่ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนและการใช้พลังงานสะอาดไม่เพียงแต่จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ของธุรกิจในฐานะองค์กรที่ใส่ใจต่อความยั่งยืน อีกทั้งยังช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลกที่ให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น
เมื่อทำความเข้าใจกันไปแล้วว่า CBAM คืออะไร ? ขั้นตอนต่อไป คือการเตรียมความพร้อมให้ธุรกิจก้าวเข้าสู่มาตรการ CBAM ได้แล้ววันนี้กับ GreenYellow ที่พร้อมให้คำปรึกษาและวางแผนการปรับตัวแบบครบวงจร เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานทางเลือกที่ยั่งยืน ด้วยประสบการณ์การให้บริการโซลูชันด้านพลังงานสะอาดมากกว่า 15 ปี โดยมีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์และออกแบบระบบการจัดการพลังงานและการใช้พลังงานทางเลือกที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พร้อมทั้งสนับสนุนการขอใบรับรอง I-REC เพื่อยืนยันการใช้พลังงานสะอาดตามมาตรฐานสากล ติดต่อ GreenYellow วันนี้ เพื่อเริ่มต้นการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
- เบอร์โทรศัพท์ 02-079-8081
- LINE ID: @greenyellowth
- E-mail * gr*********@gr*********.com
ข้อมูลอ้างอิง:
Carbon Border Adjustment Mechanism. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2567 จาก https://taxation-customs.ec.europa.eu/carbon-border-adjustment-mechanism_en