โรงงานอุตสาหกรรม เป็นหนึ่งในภาคส่วนที่ใช้พลังงานมากที่สุด การประหยัดพลังงานในโรงงานจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อทั้งต้นทุนการผลิต ผลกำไร และสิ่งแวดล้อม ซึ่งหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานในโรงงาน คือการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของระบบทำความเย็น (Chiller) และระบบปั๊มลม (Air Compressor) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของระบบปรับอากาศและระบบลมอัดในโรงงานและโรงแรม
ทำความรู้จักระบบ Chiller
ระบบชิลเลอร์ (Chiller) คืออะไร ?
ระบบ Chiller เป็นระบบทำความเย็นขนาดใหญ่ มีหน้าที่หลักในการผลิตน้ำเย็น เพื่อนำไปใช้หมุนเวียนในคอยล์เย็น (Cooling Coil) ของระบบปรับอากาศ น้ำเย็นจากระบบชิลเลอร์จะทำหน้าที่ดูดซับความร้อนจากอากาศภายในอาคาร ทำให้อุณหภูมิเครื่องจักรลดลง อีกทั้งยังมีส่วนช่วยในการปรับอากาศ
ระบบชิลเลอร์ (Chiller) มีกี่แบบ
ระบบชิลเลอร์ (Chiller) มีหลักการทำงานสำคัญ โดยอาศัยการถ่ายเทความร้อนระหว่างสารทำความเย็นกับน้ำ ซึ่งประเภทของชิลเลอร์จะขึ้นอยู่กับวิธีการระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น ดังต่อไปนี้
- เครื่องทำน้ำเย็นระบายความร้อนด้วยอากาศ (Air Cooled Chiller)เป็นระบบชิลเลอร์ที่นิยมใช้งานมากที่สุด เหมาะสำหรับสถานที่ที่มีพื้นที่จำกัด เนื่องจากไม่ต้องติดตั้งระบบท่อน้ำเย็น อีกทั้งยังบำรุงรักษาง่าย โดยมีหลักการทำงาน คือ
- สารทำความเย็นในคอมเพรสเซอร์จะถูกบีบอัดจนมีความดันและอุณหภูมิสูงขึ้น
- สารทำความเย็นที่ร้อนขึ้นจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น จะไหลผ่านคอนเดนเซอร์ ซึ่งมีพัดลมเป่าอากาศเย็นมาช่วยระบายความร้อน
- ความร้อนจากสารทำความเย็นจะถ่ายเทสู่อากาศ ทำให้สารทำความเย็นกลายเป็นของเหลว
- สารทำความเย็นเหลวจะไหลผ่านอุปกรณ์ลดความดัน ทำให้อุณหภูมิของสารทำความเย็นลดลง
- สารทำความเย็นจะไหลผ่านคอยล์เย็น (Evaporator) ซึ่งทำหน้าที่ดูดซับความร้อนจากน้ำ
- น้ำจากสารทำความเย็นจะกลายเป็นน้ำเย็น และถูกส่งไปยังระบบปรับอากาศ หรือกระบวนการผลิต
- สารทำความเย็นที่ดูดซับความร้อนจากระบบปรับอากาศหรือกระบวนการผลิต จะกลายเป็นก๊าซและไหลกลับสู่คอมเพรสเซอร์ ก่อให้เกิดกระบวนการใหม่อีกครั้ง
- เครื่องทำน้ำเย็นระบายความร้อนด้วยน้ำ (Water Cooled Chiller)
เครื่องทำน้ำเย็นระบายความร้อนด้วยน้ำ เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่าแบบ Air Cooled Chiller แต่ต้องติดตั้งท่อน้ำเย็นและเหมาะสำหรับใช้งานในสถานที่ที่มีแหล่งน้ำเย็น เช่น แม่น้ำ ลำธาร หรือบ่อน้ำ โดยมีหลักการทำงานส่วนใหญ่คล้ายเครื่องทำน้ำเย็นระบายความร้อนด้วยอากาศ แต่สารทำความเย็นที่ร้อนจะไหลผ่านคอนเดนเซอร์ โดยใช้น้ำเย็นจากแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือจากหอหล่อเย็นมาช่วยระบายความร้อน จึงประหยัดพลังงานและมีเสียงรบกวนต่ำกว่า
ทำความรู้จักระบบ Air Compressor
ระบบ Air Compressor คืออะไร ?
ระบบ Air Compressor สำหรับโรงงาน หรือที่เรียกกันว่าปั๊มลม เป็นแหล่งกำเนิดและป้อนอากาศอัดให้แก่อุปกรณ์เครื่องมือนานาชนิด โดยอาศัยหลักการดูดอากาศเข้าสู่การอัดแรงดันสูง ลมอัดที่ผลิตได้จะถูกส่งไปใช้งานในเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในโรงงาน ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม่นยำ และปลอดภัย
ระบบ Air Compressor มีกี่ประเภท
ระบบ Air Compressor มีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับหลักการทำงานและลักษณะการใช้งาน โดยสามารถแบ่งออกได้ ดังต่อไปนี้
- เครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบ (Piston Air Compressor)
มีโครงสร้างเรียบง่าย แต่อาจเกิดแรงสั่นสะเทือนและเสียงดัง จึงต้องบำรุงรักษาบ่อยครั้ง ไม่เหมาะกับการใช้งานต่อเนื่องเป็นเวลานาน โดยมีหลักการทำงาน คืออากาศจะถูกดูดเข้าไปภายในกระบอกสูบ จากนั้นลูกสูบจะเคลื่อนที่ไปมาเพื่ออัดอากาศให้มีแรงดันสูง แล้วอากาศแรงดันสูงจะถูกส่งผ่านวาล์วไปยังถังเก็บลมเพื่อส่งผ่านไปยังจุดใช้งาน
- เครื่องอัดอากาศแบบสกรู (Screw Air Compressor)
เป็นประเภทที่นิยมนำมาใช้ในโรงงาน โรงพิมพ์ หรืออุตสาหกรรม ซึ่งทำงานโดยใช้โรเตอร์เกลียวสกรูคู่หมุนขบกัน แทนการใช้ลิ้นเปิดปิด จึงไม่มีเสียงดังและการสึกหรอน้อย แต่ต้องการระบบระบายความร้อนที่ดี เนื่องจากสามารถจ่ายลมได้อย่างต่อเนื่องและสร้างแรงดันได้สูง
- เครื่องอัดอากาศแบบไดอะแฟรม (Diaphragm Air Compressor)
ทำงานโดยใช้แผ่นไดอะแฟรมเสมือนลูกสูบในการดูดและอัดอากาศ โดยไม่ต้องสัมผัสกับชิ้นส่วนโลหะ จึงไม่มีการสึกหรอ ทำให้ได้ลมที่ไม่มีการผสมของน้ำมันหล่อลื่น จึงเหมาะสำหรับงานที่ต้องการลมสะอาด แต่แรงดันที่ได้จะไม่สูงเท่าปั๊มลมแบบอื่น ด้วยคุณสมบัติที่ทำให้ได้เสียงที่เงียบและลมสะอาด จึงนิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ยา เคมี รวมถึงอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์น้ำ
- เครื่องอัดอากาศแบบใบพัดเลื่อน (Sliding Vane Rotary Air Compressor)
โดดเด่นด้วยการทำงานเงียบ จากการหมุนที่ราบเรียบและสม่ำเสมอ ทำให้การไหลของอากาศราบเรียบ ไม่มีแรงสั่นสะเทือน โดยมีการอัดอากาศคงที่ เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความแม่นยำ อีกทั้งยังมีอายุการใช้งานยาวนาน เนื่องจากไม่มีลิ้นหรือวาล์วในการปิดเปิด โดยมีขนาดกะทัดรัด ประหยัดพื้นที่ติดตั้ง แต่อาจเกิดความร้อนได้ง่าย
- เครื่องอัดอากาศแบบใบพัดหมุน (Roots Air Compressor)
ปั๊มลมแบบใบพัดหมุน ถูกออกแบบให้มีใบพัดหมุน 2 ใบ ให้หมุนในทิศทางตรงข้ามกัน เพื่อดูดอากาศจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงปริมาตร ซึ่งอากาศจะถูกอัดตัวเมื่อถูกส่งเข้าถังเก็บลม โดยมีโครงสร้างเรียบง่าย ชิ้นส่วนน้อย ไม่ซับซ้อน จึงมีความทนทาน ใช้งานง่าย ไม่ต้องดูแลรักษามาก รวมถึงไม่มีประกายไฟ ทำให้ปลอดภัยสำหรับงานในพื้นที่อันตราย
- เครื่องอัดอากาศแบบกังหัน (Radial and Axial Flow Air Compressor)
เป็นที่รู้จักในด้านประสิทธิภาพการจ่ายลมปริมาณมาก ซึ่งทำงานโดยอาศัยใบพัดกังหันดูดอากาศจากด้านหนึ่งด้วยความเร็วสูง เพื่อส่งออกไปอีกด้านหนึ่ง การออกแบบใบพัดจึงมีความสำคัญต่ออัตราการผลิตและจ่ายลม โดยเหมาะสำหรับงานที่ต้องการปริมาณลมมาก แต่แรงดันที่ได้จะไม่สูงเท่าปั๊มลมแบบอื่น
ระบบชิลเลอร์และระบบอัดอากาศที่มีประสิทธิภาพจะช่วยเสริมศักยภาพการผลิต ลดต้นทุน เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่กำลังต้องการลด Cost และมองหาวิธีประหยัดพลังงานในโรงงานและโรงแรม โดย GreenYellow มีความเชี่ยวชาญในการออกแบบ จัดหา ปรับเปลี่ยน หรือติดตั้งระบบที่เหมาะสมกับความต้องการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร ช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลง แต่ยังคงศักยภาพการทำงานได้ดีเหมือนเดิม หรือมากกว่าเดิม พร้อมการจัดการระบบให้เป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษา GreenYellow (กรีน เยลโล่) เพื่อรับคำแนะนำ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-079-8081 หรืออีเมล gr*********@gr*********.com