fbpx

เตรียมเปลี่ยนผ่าน สู่การใช้พลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย 100%

รู้จักรูปแบบพลังงานทดแทนที่มีอยู่ในประเทศไทยพร้อมแผนพัฒนา ที่ตอบสนองความมั่นคงด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งหน้าสู่การใช้พลังงานทดแทน 100%
นักธุรกิจกำลังนึกถึงการใช้พลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย

รูปแบบพลังงานทดแทนที่มีอยู่ในประเทศไทย

เนื่องด้วยภูมิประเทศและสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งรูปแบบพลังงานทดแทนหลักที่พบในประเทศไทย มีดังนี้

พลังงานแสงอาทิตย์

แสงแดด เป็นหนึ่งในพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทยที่หาง่ายที่สุด เพราะไทยมีแสงแดดจัดอยู่ตลอดทั้งปี การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จึงเป็นทางเลือกของพลังงานทดแทนที่สะอาด ปลอดภัยและมีความเหมาะสมมากที่สุด

พลังงานลม

เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทยที่หาได้ตามแนวชายฝั่งทะเลและบนยอดเขาสูงในบางพื้นที่ มีกระแสลมที่เหมาะแก่การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม โดยใช้การติดตั้งกังหันลมขนาดใหญ่ ซึ่งนับว่าเป็นอีกหนึ่งในพลังงานที่สะอาด ไร้มลพิษ

พลังงานน้ำ

ประเทศไทยมีเขื่อนและอ่างเก็บน้ำหลายแห่งที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำได้ ซึ่งพลังงานน้ำถือเป็นพลังงานหมุนเวียนที่มีประสิทธิภาพ แต่หากมองโดยรวมแล้ว การสร้างเขื่อนที่จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจำนวนมากได้ต้องเป็นเขื่อนที่มีขนาดใหญ่พอสมควร ซึ่งอาจมีกระบวนการสร้างที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือชุมชนได้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันการสร้างเขื่อนใหม่ ๆ ที่มีขนาดใหญ่ในประเทศไทย อาจเกิดขึ้นได้ยากด้วยปัจจัยหลายประการ

พลังงานชีวมวล

หลายคนอาจไม่รู้จักพลังงานชีวมวล ซึ่งเป็นพลังงานที่ได้จากวัสดุอินทรีย์ เช่น เศษไม้ เศษพืช ซากสัตว์ มูลสัตว์ โดยสามารถนำวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรนำมาเผาไหม้หรือหมักเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า หรือก๊าซชีวภาพได้ แต่อาจก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศจากกระบวนการเผาไหม้ หรือหากเป็นการหมัก อาจต้องใช้เวลาและพื้นที่จำนวนมากเพื่อให้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ตามปริมาณที่ต้องการ จึงมักใช้กันในระดับท้องถิ่น 

พลังงานความร้อนใต้พิภพ

พลังงานความร้อนใต้พิภพ คือพลังงานที่เกิดจากความร้อนที่อยู่ใต้พื้นผิวโลก โดยเกิดจากแกนกลางโลกที่ร้อนจัด ทำให้ความร้อนจากแกนกลางค่อย ๆ ถ่ายเทขึ้นมาสู่เปลือกโลก ซึ่งบางส่วนก็กักเก็บอยู่ในหินและน้ำใต้ดิน ในบางพื้นที่ของประเทศไทย เช่น ภาคเหนือ มีแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพที่สามารถนำมาผลิตไฟฟ้าได้ ซึ่งแม้พลังงานความร้อนใต้พิภพจะถือเป็นพลังงานที่มีประสิทธิภาพ สะอาด ปลอดภัย แต่ก็เป็นพลังงานทดแทนในประเทศไทยที่มีจำนวนจำกัดและอยู่ในพื้นที่เฉพาะ 

มุ่งสู่การใช้พลังงานทดแทนในประเทศไทยแบบเต็มกำลัง

ประเทศไทย มุ่งมั่นสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี พ.ศ. 2593 ตามนโยบายและแผนพลังงานหมุนเวียนของประเทศไทย ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ซึ่งหมายถึงการที่ปริมาณการปล่อยคาร์บอน (CO2) เข้าสู่ชั้นบรรยากาศเท่ากับปริมาณคาร์บอนที่ถูกดูดซับกลับคืนมาวิธีการต่าง ๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย ลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล ลดมลพิษทางอากาศ เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน ส่งเสริมความมั่นคงทางพลังงาน โดยไม่ได้เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังนำไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน มั่นคง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีการกำหนดแนวทางการพัฒนาพลังงานทดแทน ดังนี้

รวมรูปแบบพลังงานทดแทนในประเทศไทย

พัฒนาแหล่งพลังงานทดแทน

หัวใจสำคัญของแผน คือการพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพสูง เพื่อเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน ตามเป้าหมาย ดังนี้ 

  • พลังงานแสงอาทิตย์ เนื่องจากประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ แผนพัฒนาจึงมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน อาคาร พื้นที่ว่างเปล่า รวมถึงในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ อย่างโรงงาน โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน ซึ่งมีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าในจำนวนมาก
  • พลังงานลม โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาโครงการพลังงานลมขนาดใหญ่
  • พลังงานน้ำ พัฒนาศักยภาพการผลิตกระแสไฟฟ้าของเขื่อนที่มีอยู่ และโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดเล็ก
  • พลังงานชีวมวล ส่งเสริมการใช้ชีวมวลที่เหลือใช้จากภาคการเกษตรและป่าไม้ โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนในกระบวนการผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ได้แก่ ผู้รวบรวมวัสดุชีวมวล ผู้แปรรูป และผู้ใช้เชื้อเพลิงชีวมวล
  • พลังงานความร้อนใต้พิภพ เนื่องจากแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพมีอยู่จำกัด แผนพัฒนาจึงมุ่งเน้นไปที่การสำรวจและพัฒนาแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพอย่างยั่งยืน

พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

การที่ระบบพลังงานทดแทนจะสามารถทำงานในแผนคาร์บอนเป็นกลางได้อย่างสมบูรณ์ จำเป็นต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับ แผนพัฒนาจึงต้องมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาโครงข่ายพื้นฐาน

  • โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ซึ่งจะช่วยให้สามารถจัดการกับพลังงานทดแทนที่อาจไม่เสถียรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ระบบกักเก็บพลังงาน เพื่อช่วยกักเก็บพลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ หรือพลังงานลม ไว้ใช้ในช่วงที่ไม่มีแสงแดดหรือลม
  • ระบบส่งจ่ายไฟฟ้า ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยลดการสูญเสียพลังงานระหว่างการส่งจ่าย

ส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นกุญแจสำคัญในการลดความต้องการในการใช้พลังงานโดยรวม แผนพัฒนาจึงมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีประหยัดพลังงาน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้พลังงาน และการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนในภาคการขนส่ง

ทำไมต้องเปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทน ?

อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนคงรู้ถึงความสำคัญของการใช้พลังงานทดแทนกันแล้ว แต่สำหรับใครที่ยังไม่มั่นใจ ก็สามารถมาหาคำตอบได้ ดังนี้

ลดต้นทุนการผลิต

พลังงานทดแทนช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากราคาพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การใช้พลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้เป็นอย่างดี

สร้างความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ

ดังที่รู้กันดีว่าการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล สามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจก ก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อนได้ การเปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทน ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดที่ไม่มีมลพิษ จึงสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ชะลอการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่กำลังย่ำแย่ได้

ลดมลพิษ

มลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์และระบบนิเวศสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานสะอาดที่ไม่มีมลพิษอย่างพลังงานทดแทน จึงมีส่วนช่วยสำคัญในการลดปัญหาสุขภาพและรักษาสิ่งแวดล้อม

สนับสนุนความมั่นคงทางพลังงาน

การพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นพลังงานที่อาจมีวันหมดไป ย่อมส่งผลต่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ ต่างจากการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งเป็นพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย จะช่วยลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ ช่วยสร้างความมั่นคงให้ประเทศไทยสามารถใช้พลังงานที่ผลิตเองได้อย่างยั่งยืน

ร่วมลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม สร้างความยั่งยืนระยะยาวให้ภาคอุตสาหกรรม ด้วยการใช้เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมกับ Green Yellow ผ่านการติดตั้งโซลาร์เซลล์ หรือร่วมดำเนินการในโครงการ Solar PPA พร้อมให้บริการออกใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (I-REC) และดูแลอย่างครบวงจร เพื่อรับรองแหล่งผลิตพลังงาน ให้คุณร่วมเป็นส่วนหนึ่งของฟันเฟืองสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ประเทศไทยเข้าใกล้เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สู่อนาคตที่ยั่งยืน ! หากสนใจสามารถติดต่อเพื่อรับคำปรึกษา หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-079-8081 หรืออีเมล gr*********@gr*********.com

ข้อมูลอ้างอิง:

  1. นโยบายและแผนพลังงานหมุนเวียนของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2567 
  2. วิสัยทัศน์ภาคพลังงาน ก้าวสู่ไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเต็มรูปแบบ. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 25667
ประหยัดค่าไฟฟ้าได้ถึงหลักล้านง่ายๆ เพียงติดต่อเราวันนี้ ติดต่อเรา

บทความโดย

แชร์บทความนี้
Facebook
Twitter
LinkedIn
X
Pinterest
WhatsApp

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

การคำนวณติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่ใช้ในบ้านและโรงงาน

รวมเรื่องต้องรู้ คู่มือติดตั้งบ้านโซลาร์เซลล์และโรงงาน !

มองหาข้อมูลเกี่ยวกับการติดตั้งโซลาร์เซลล์ใช้ในบ้าน หรือโรงงาน ? บทความนี้จะพาไปเจาะลึกความแตกต่างไปจนถึงขั้นตอนการติดตั้งแบบละเอียด

อ่านเพิ่มเติม
โครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย

เจาะลึกแผงโซลาร์เซลล์ลอยน้ำใหญ่ที่สุดในโลก ณ เขื่อนสิรินธร

พารู้จักแผงโซลาร์เซลล์ลอยน้ำใหญ่ที่สุดในโลก ณ เขื่อนสิรินธร และทำความรู้จักโซลาร์เซลล์ลอยน้ำในฐานะทางเลือกใหม่เพื่อประหยัดพลังงานสำหรับธุรกิจ

อ่านเพิ่มเติม
การผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยปัจจุบันใช้พลังงานก๊าซธรรมชาติและถ่านหินมากที่สุด

การผลิตและซื้อไฟฟ้าในประเทศไทย และความสำคัญของโซลาร์เซลล์

เจาะลึกสถานการณ์การผลิตและซื้อไฟฟ้าในประเทศไทย พร้อมเหตุผลทำไมโซลาร์เซลล์คือทางเลือกสำคัญ และโอกาสทางธุรกิจที่คุณไม่ควรพลาด

อ่านเพิ่มเติม

Free consultation