fbpx

รู้เท่าทัน ! เพื่อเตรียมแผนฉุกเฉินเมื่อเกิดไฟไหม้โซลาร์เซลล์

ร่วมหาคำตอบว่าอะไรบ้างที่อาจทำให้โซลาร์เซลล์ไฟไหม้ พร้อมทั้งแผนรับมือฉุกเฉินเมื่อเกิดไฟไหม้โซลาร์เซลล์ เพื่อหาวิธีป้องกันในระยะยาว
โซลาร์เซลล์เสี่ยงไฟไหม้เนื่องจากการชำรุด

ระบบโซลาร์เซลล์ หากไม่ได้รับการติดตั้งและดูแลอย่างเหมาะสม อาจก่อให้เกิดเหตุไฟไหม้ได้ โดยในบทความนี้เราจะพาคุณมาหาคำตอบว่าอะไรบ้างที่อาจก่อให้เกิดเหตุไฟไหม้โซลาร์เซลล์ และจะสามารถรับมือได้ด้วยวิธีใด ทั้งแผนรับมือฉุกเฉินเมื่อเกิดไฟไหม้โซลาร์เซลล์ และวิธีป้องกันในระยะยาว

สาเหตุที่อาจทำให้โซลาร์เซลล์ไฟไหม้

เช่นเดียวกับไฟฟ้าระบบอื่น โซลาร์เซลล์ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดไฟไหม้ได้เช่นกัน โดยมีสาเหตุหลักที่ควรรู้ ได้แก่

  • Hotspot 

Hotspot หรือจุดที่แผงโซลาร์เซลล์มีความร้อนสูงผิดปกติ ซึ่งเกิดจากการระบายความร้อนไม่ดี โดยการติดตั้งแผงที่หนาแน่นเกินไป ทำให้ไม่มีช่องว่างระบายอากาศเพียงพอ หรือความผิดพลาดของแผงที่ชำรุด เสียหาย เกิดรอยแตก ทำให้จุด Hotspot มีความเสี่ยงสูงที่จะลุกลามเป็นไฟ เพราะความร้อนอาจสะสมสูงจนแผงละลาย เกิดประกายไฟ ลุกลามไปยังแผงอื่น

  • สิ่งสกปรกบนแผงโซลาร์เซลล์

เช่น ฝุ่นละออง ใบไม้ กิ่งไม้ ซึ่งไปบดบังแสงแดด จนเป็นสาเหตุทำให้เกิด Hotspot ความร้อนสะสม และไฟไหม้

  • ฟ้าผ่าลงบนแผงโซลาร์เซลล์ 

โดยไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ แรงดันไฟฟ้า หรือกำลังไฟฟ้า ในระดับมหาศาลที่มาจากฟ้าผ่า อาจทำให้ฉนวนของแผงหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าในระบบเสียหาย จนเกิดประกายไฟและอาจลุกลามกลายเป็นไฟไหม้

  • การออกแบบระบบที่ไม่เหมาะสม

โดยเฉพาการออกแบบระบบโซลาร์เซลล์ที่ไม่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เช่น การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในพื้นที่ที่แสงแดดจัดจ้าเกินกว่าที่ระบบจะรองรับ การคำนวณขนาดระบบผิดพลาด หรือมุมองศาการติดตั้งแผงที่ไม่เหมาะสม ซึ่งล้วนส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของระบบที่ทำให้เกิด Hotspot ความร้อนสะสม เสี่ยงต่อการไฟไหม้

  • การติดตั้งที่ไม่ถูกต้อง 

เช่น การติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยช่างที่ไม่มีใบอนุญาต ใช้แผงหรือโครงสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือติดตั้งผิดวิธี อาจทำให้เกิดปัญหาไฟฟ้าลัดวงจร และไฟไหม้

  • ปัญหาการเดินไฟ 

โดยระบบไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องกับโซลาร์เซลล์  เช่น สายไฟชำรุด อุปกรณ์ไฟฟ้าไม่มีมาตรฐาน การต่อสายดิน หรือระบบ Grounding ที่ไม่ดี ล้วนเป็นสาเหตุที่อาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้

แผนฉุกเฉิน หากไฟไหม้โซลาร์เซลล์ ต้องทำอย่างไร ?

ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก ! เมื่อเกิดเหตุโซลาร์เซลล์ไฟไหม้ ควรปฏิบัติตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้

  • อพยพผู้คนออกจากพื้นที่โดยรอบ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เด็ก และผู้พิการ ให้ออกจากพื้นที่เสี่ยงโดยเร็วที่สุด โดยห้ามเข้าใกล้บริเวณเพลิงไหม้ 
  • รีบโทรแจ้งหน่วยดับเพลิงให้เร็วที่สุด โดยแจ้งข้อมูลสถานที่เกิดเหตุ รายละเอียดของเพลิงไหม้ และผู้ติดต่อไว้อย่างละเอียด
  • ตัดกระแสไฟ หากสามารถทำได้อย่างปลอดภัย ให้ปิดสวิตช์ DC Isolator บนตู้ควบคุมระบบโซลาร์เซลล์ เพื่อตัดกระแสไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์
  • ใช้น้ำ หรือถังดับเพลิงชนิดผงเคมี (Dry Chemical) ในการดับไฟ โดยห้ามใช้สายยางแรงดันสูงดับไฟโดยตรง เพราะแรงดันน้ำอาจทำให้องค์ประกอบของระบบโซลาร์เซลล์เสียหาย หากไฟไหม้ขนาดเล็ก ๆ อาจใช้ทรายเพื่อดับไฟได้
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไฟดับสนิท ก่อนจะเข้าใกล้พื้นที่ ควรตรวจสอบว่าไม่มีประกายไฟ หรือควันไฟที่อาจลุกลามอีก จากนั้นประเมินความเสียหายของระบบโซลาร์เซลล์ อาคาร และโครงสร้างโดยรอบ 
  • ติดต่อผู้เชี่ยวชาญ หรือติดต่อบริษัทติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่เกี่ยวข้องเพื่อประเมินความเสียหายและดำเนินการซ่อมแซม
แผนฉุกเฉิน การแจ้งเตือนหากเกิดไฟไหม้โซลาร์เซลล์

ข้อควรระวังเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้โซลาร์เซลล์

โซลาร์เซลล์ไฟไหม้ เป็นเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน แต่หากเกิดขึ้น สิ่งสำคัญคือต้องรู้ถึงสิ่งที่ต้องทำเพื่อความปลอดภัย โดยมีข้อควรระวังดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการสูดดมควันไฟ เนื่องจากควันจากไฟไหม้โซลาร์เซลล์อาจเป็นพิษ จึงควรสวมหน้ากากป้องกันชนิดที่มีตัวกรองสำหรับก๊าซพิษ 
  • ระวังอันตรายจากไฟฟ้าช็อตจากสายไฟที่เปลือย โดยห้ามสัมผัส อุปกรณ์ไฟฟ้าหรือสายไฟที่เปลือยเปล่าเด็ดขาด ควรยืนอยู่บนพื้นแห้ง สวมรองเท้าที่เป็นฉนวน
  • ระวังการพังทลายของโครงสร้างอาคาร เพราะความร้อนจากไฟไหม้อาจส่งผลต่อโครงสร้างอาคาร ทำให้เกิดการพังทลาย จึงควรอพยพออกจากอาคารให้เร็วที่สุด

ข้อควรระวังเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้โซลาร์เซลล์

โซลาร์เซลล์ไฟไหม้ เป็นเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน แต่หากเกิดขึ้น สิ่งสำคัญคือต้องรู้ถึงสิ่งที่ต้องทำเพื่อความปลอดภัย โดยมีข้อควรระวังดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการสูดดมควันไฟ เนื่องจากควันจากไฟไหม้โซลาร์เซลล์อาจเป็นพิษ จึงควรสวมหน้ากากป้องกันชนิดที่มีตัวกรองสำหรับก๊าซพิษ 
  • ระวังอันตรายจากไฟฟ้าช็อตจากสายไฟที่เปลือย โดยห้ามสัมผัส อุปกรณ์ไฟฟ้าหรือสายไฟที่เปลือยเปล่าเด็ดขาด ควรยืนอยู่บนพื้นแห้ง สวมรองเท้าที่เป็นฉนวน
  • ระวังการพังทลายของโครงสร้างอาคาร เพราะความร้อนจากไฟไหม้อาจส่งผลต่อโครงสร้างอาคาร ทำให้เกิดการพังทลาย จึงควรอพยพออกจากอาคารให้เร็วที่สุด

การป้องกันไม่ให้เกิดเหตุไฟไหม้โซลาร์เซลล์ในระยะยาว

คงได้ทราบกันแล้วว่าแม้ระบบโซลาร์เซลล์จะช่วยประหยัดค่าไฟและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดไฟไหม้ได้เช่นกันหากมีการจัดการไม่ดีพอ ดังนั้นการป้องกันในระยะยาว จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

  • ติดตั้งระบบป้องกันไฟไหม้ 

เช่น ระบบตรวจจับควันไฟ ที่ช่วยแจ้งเตือนเมื่อเกิดควันไฟ ช่วยให้ผู้ใช้งานรู้ตัวและอพยพออกจากพื้นที่ได้ทันท่วงที และระบบดับเพลิงอัตโนมัติที่สามารถควบคุมและดับไฟโดยอัตโนมัติ ช่วยลดความรุนแรงของเพลิงไหม้

  • มองหาตัวเลือกอุปกรณ์เสริมที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัย เพิ่มความปลอดภัยด้วยการเลือกใช้และติดตั้งอุปกรณ์เสริม ที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุเพลิงไหม้ในระยะยาว โดยยกตัวอย่างอุปกรณ์เสริมที่ทาง GreenYellow ให้บริการติดตั้ง ได้แก่
    • Arc Fault Circuit Interrupter (AFCI) อุปกรณ์ตัดวงจรไฟฟ้า ที่ออกแบบมาเพื่อตรวจจับและตัดวงจรไฟทันที เมื่อตรวจจับอาร์คหรือตรวจพบประกายไฟ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของไฟไหม้ในระบบไฟฟ้า อุปกรณ์นี้จะป้องกันไม่ให้เกิดความร้อนสูงจนนำไปสู่เหตุไฟไหม้ จึงช่วยลดความเสี่ยงจากการเสื่อมสภาพของสายไฟ หรือการต่อสายไฟที่ไม่แน่นหนา
    • Arc Fault Circuit Interrupter (AFCI) อุปกรณ์ตัดวงจรไฟฟ้า ที่ออกแบบมาเพื่อตรวจจับและตัดวงจรไฟทันที เมื่อตรวจจับอาร์คหรือตรวจพบประกายไฟ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของไฟไหม้ในระบบไฟฟ้า อุปกรณ์นี้จะป้องกันไม่ให้เกิดความร้อนสูงจนนำไปสู่เหตุไฟไหม้ จึงช่วยลดความเสี่ยงจากการเสื่อมสภาพของสายไฟ หรือการต่อสายไฟที่ไม่แน่นหนา
    • Rapid Shutdown ระบบที่ช่วยลดแรงดันไฟฟ้าในระบบโซลาร์เซลล์อย่างรวดเร็วในกรณีฉุกเฉิน โดยตัดการเชื่อมต่อระบบโซลาร์เซลล์และหยุดจ่ายกระแสไฟฟ้ากระแสตรง (DC)  ป้องกันการเกิดไฟดูด ซึ่งจะทำงานเมื่อมีการสั่งการจากภายนอก เช่น ปุ่มฉุกเฉิน หรือการดับไฟ จึงช่วยให้นักดับเพลิงและช่างไฟฟ้าทำงานได้อย่างปลอดภัย
  • ตรวจสอบระบบโซลาร์เซลล์เป็นประจำ

เพื่อหาจุดบกพร่อง หรือความเสียหาย โดยตรวจสอบรอยแตก รอยร้าว รวมถึงความเสียหายของแผงโซลาร์เซลล์ ตรวจสอบรอยฉีกขาด หรือการหุ้มฉนวนของสายไฟ รวมถึงตรวจสอบความแน่นหนาและรอยไหม้ของจุดเชื่อมต่อว่า แน่นหนาและไม่มีรอยไหม้ ทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์อยู่เสมอ เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและสิ่งสกปรก

  • เลือกใช้ผลิตภัณฑ์โซลาร์เซลล์และอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน

โดยเลือกแผงโซลาร์เซลล์ อินเวอร์เตอร์ รวมถึงอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ โดยตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์มีมาตรฐาน มอก. หรือมาตรฐานสากลที่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด

  • ติดตั้งโดยบริษัทและทีมช่างผู้เชี่ยวชาญ 

เลือกบริษัทติดตั้งที่มีใบอนุญาตให้ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ เพื่อให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามหลัก ลดปัญหาโซลาร์เซลล์ไฟไหม้ลุกลามจนเกินควบคุม โดยต้องตรวจสอบผลงานและประสบการณ์ของบริษัท รวมถึงสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับการรับประกันสินค้า บริการหลังการขาย รวมถึงการดูแล ให้ละเอียดครบถ้วน 

เพื่อป้องกันการเกิดเหตุไฟไหม้ระบบโซลาร์เซลล์ เลือกติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) กับบริษัทติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่มีประสบการณ์ และมีทีมช่างที่มีใบอนุญาตในการติดตั้งระบบ พร้อมให้บริการครบวงจรตั้งแต่การออกแบบ ติดตั้ง และดูแลระบบอย่าง GreenYellow 

ธุรกิจใดที่สนใจติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปโดยไม่ต้องลงทุน สามารถปรึกษา GreenYellow (กรีน เยลโล่) เพื่อรับคำแนะนำ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-079-8081 หรืออีเมล gr*********@gr*********.com

ข้อมูลอ้างอิง:

  1. Can Photovoltaic Power Generation Lead to Photovoltaic Fires? Prevention and Response Strategies. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2567 จาก https://www.linkedin.com/pulse/can-photovoltaic-power-generation-lead-fires-prevention-evgoc 
  2. How can rooftop solar panel fires be prevented?. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2567 จาก https://www.innovationnewsnetwork.com/how-can-rooftop-solar-panel-fires-be-prevented/41444/
ประหยัดค่าไฟฟ้าได้ถึงหลักล้านง่ายๆ เพียงติดต่อเราวันนี้ ติดต่อเรา

บทความโดย

แชร์บทความนี้
Facebook
Twitter
LinkedIn
X
Pinterest
WhatsApp

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

คูลลิ่งทาวเวอร์ คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการระบายความร้อนจากน้ำหล่อเย็น

คูลลิ่งทาวเวอร์ โซลูชันประหยัดพลังงานสำคัญในอุตสาหกรรม

คูลลิ่งทาวเวอร์ คือโซลูชันระบบระบายความร้อนที่ช่วยลดการใช้พลังงานและต้นทุนในระบบทำความเย็น พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

อ่านเพิ่มเติม
CBAM มาตรการปรับภาษี Carbon ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรม

มาตรการ CBAM คืออะไร ? ทำไมธุรกิจต้องเตรียมพร้อมรับมือ !

CBAM คือมาตรการลดการปล่อยคาร์บอนด้วยการปรับภาษีของ EU ซึ่งจะส่งผลต่อสินค้าคาร์บอนสูง เช่น เหล็ก ปูนซีเมนต์ ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องเตรียมตัวให้พร้อม !

อ่านเพิ่มเติม
ชีวมวลเป็นแหล่งพลังงานได้อย่างไร ? ด้วยกระบวนการแปรรูปทางเคมี จากวัสดุธรรมชาติ

การผสมผสานพลังงานทดแทนระหว่างพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานชีวมวล

พลังงานชีวมวล คือแหล่งพลังงานสะอาดที่ได้จากวัสดุธรรมชาติ เช่น เศษไม้ กากพืช โดยใช้ผลิตไฟฟ้า ความร้อน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แหล่งพลังงานทดแทน

อ่านเพิ่มเติม

Free consultation