fbpx

รวมเรื่องต้องรู้ คู่มือติดตั้งบ้านโซลาร์เซลล์และโรงงาน !

มองหาข้อมูลเกี่ยวกับการติดตั้งโซลาร์เซลล์ใช้ในบ้าน หรือโรงงาน ? บทความนี้จะพาไปเจาะลึกความแตกต่างไปจนถึงขั้นตอนการติดตั้งแบบละเอียด
การคำนวณติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่ใช้ในบ้านและโรงงาน

พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นแหล่งพลังงานสะอาดที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน โดยสามารถนำมาเป็นโซลาร์เซลล์ใช้ในบ้านและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งถึงแม้จะมีจุดประสงค์ในการผลิตไฟฟ้าเหมือนกัน แต่การติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่ใช้ในบ้านและโรงงานก็มีความแตกต่างกันในหลายด้าน

ขนาดและจำนวนโซลาร์เซลล์

ขนาดและจำนวนโซลาร์เซลล์จะสอดคล้องกับปริมาณการใช้ไฟในแต่ละพื้นที่ ไม่ว่าจะต้องการทำบ้านโซลาร์เซลล์ หรืออยากติดตั้งโซลาร์เซลล์สำหรับโรงงานก็ควรตรวจสอบและหาค่าเฉลี่ยปริมาณการใช้ไฟก่อน เพื่อนำไปปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ

  • โซลาร์เซลล์บ้าน 

โซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งในบ้านมักมีขนาดค่อนข้างเล็กและจำนวนแผงน้อย ซึ่งแต่ละแผงมักมีขนาดประมาณ 1.7 x 1 เมตร เนื่องจากความต้องการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนโดยทั่วไปจะน้อยกว่าโรงงานอุตสาหกรรม การเลือกขนาดและจำนวนแผงโซลาร์เซลล์จึงควรคำนึงถึงปริมาณการใช้ไฟฟ้าในแต่ละวันเป็นหลัก 

  • โซลาร์เซลล์โรงงาน 

โซลาร์เซลล์ที่ใช้ในโรงงานจะมีขนาดใหญ่กว่าและจำนวนแผงมากกว่า เพื่อรองรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่สูง ซึ่งอาจรวมถึงการใช้งานเครื่องจักรขนาดใหญ่และกระบวนการผลิตที่ต้องใช้พลังงานจำนวนมาก การออกแบบระบบโซลาร์เซลล์สำหรับโรงงานจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง เช่น กำลังการผลิตที่ต้องการ ความต้องการใช้ไฟฟ้าในแต่ละช่วงเวลา และพื้นที่ในการติดตั้ง โดยแต่ละแผงอาจมีขนาดตั้งแต่ 2 x 1 เมตร ไปจนถึง 2.5 x 1.5 เมตร

รูปแบบการติดตั้ง

รูปแบบการติดตั้งจะมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะของสถานที่และปริมาณการใช้ไฟฟ้า โดยมีข้อแตกต่างระหว่างบ้านและโรงงาน ดังนี้

  • โซลาร์เซลล์บ้าน 

แผงโซลาร์เซลล์ใช้ในบ้านมักติดตั้งบนหลังคา โดยเลือกติดตั้งในบริเวณที่ได้รับแสงแดดโดยตรงมากที่สุด การติดตั้งบนหลังคามีข้อดีคือ ไม่เปลืองพื้นที่ใช้สอย จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสำหรับบ้านพักอาศัยที่มีพื้นที่จำกัด

  • โซลาร์เซลล์โรงงาน 

สามารถติดตั้งได้ทั้งบนหลังคาอาคาร พื้นที่ว่าง (Solar Farm) บนบ่อน้ำ หรือบนโครงสร้างหลังคาที่จอดรถ โดยอาจใช้โครงสร้างที่ใหญ่และแข็งแรงกว่า เพื่อรองรับขนาดของแผงโซลาร์เซลล์จำนวนมาก จึงเหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการผลิตไฟฟ้าในปริมาณมาก 

ขั้นตอนการติดตั้งบ้านโซลาร์เซลล์และโรงงาน

ขั้นตอนการติดตั้ง

ขั้นตอนการติดตั้งโซลาร์เซลล์ทั้งบ้านและโรงงานโดยทั่วไปจะคล้ายคลึงกัน ดังนี้

1. การออกแบบระบบ

โดยบริษัทที่ลงทุนและติดตั้งจะเข้ามาสำรวจพื้นที่เพื่อทำการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ไม่ว่าจะเป็นหลังคา พื้นดิน บนพื้นน้ำ หรือบนโครงสร้างหลังคาที่จอดรถ เพื่อประเมินกำลังการติดตั้งของระบบโซลาร์เซลล์ที่สามารถติดตั้งได้ รวมถึงประเมินค่าแสงแดด พร้อมกับวิเคราะห์ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของบ้าน หรือโรงงาน เพื่อออกแบบระบบโซลาร์เซลล์ให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้เหมาะสมที่สุดกับการใช้งาน โดยหลังจากได้ข้อมูลจากการสำรวจและวิเคราะห์แล้ว วิศวกรจะทำการวางรูปแบบการติดตั้งในเบื้องต้นให้ดู พร้อมกำหนดกำลังการติดตั้งและจำนวนแผงโซลาร์เซลล์ อินเวอร์เตอร์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสม

2. การขอใบอนุญาตในการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์

การติดตั้งโซลาร์เซลล์ จำเป็นต้องดำเนินการขอใบอนุญาตที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อให้ระบบเป็นไปตามมาตรฐานที่หน่วยงานกำหนด ดังนี้

  • หากมีการดัดแปลงอาคาร ต้องยื่นขอใบ อ.1 ซึ่งเป็นใบอนุญาตสำหรับการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคารที่ยืนยันความปลอดภัยของโครงการโซลาร์เซลล์
  • แจ้งหน่วยงานการไฟฟ้าในพื้นที่ เช่น การไฟฟ้านครหลวง (MEA) หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) เพื่อตรวจสอบระบบการเชื่อมต่อของโซลาร์เซลล์กับระบบไฟฟ้าหลักของโรงงาน โดยมีการตรวจสอบให้ตรงตามมาตรฐานเพื่อความปลอดภัย

ขั้นตอนเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะสำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่ในโรงงานที่มีการใช้ไฟฟ้าในปริมาณมาก ซึ่งผู้ประกอบการ หรือองค์กร จะต้องดำเนินการเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) โดยเป็นไปตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง โดยจะใช้เวลาดำเนินการในด้านเอกสารและการพิจารณาอนุญาตประมาณ 2 เดือน อีกทั้งสำหรับองค์กรที่ไม่ได้จำหน่ายพลังงานแสงอาทิตย์เข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้า จะต้องทำการแจ้งยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตการซื้อขาย ซึ่งความยุ่งยากและซับซ้อนของกระบวนการจะผันแปรตามกำลังการติดตั้งที่ต้องการ ดังนั้น บริษัทรับติดตั้งโซลาร์เซลล์ในโรงงานจึงมีความจำเป็นในการช่วยดำเนินการและให้คำปรึกษาเรื่องเอกสาร เพื่อให้ขั้นตอนเป็นไปอย่างราบรื่นตามข้อกำหนดทางกฎหมาย

3. การจัดเตรียมพื้นที่และติดตั้งโครงสร้าง

การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ไม่ว่าจะเป็นหลังคาโซลาร์เซลล์ หรือการติดตั้งบนพื้นดิน อาจจะต้องมีการปรับปรุงหลังคา หรือพื้นที่ให้แข็งแรงและเรียบเสมอกัน เนื่องจากโครงสร้างของหลังคา หรือพื้นที่จะต้องมีความแข็งแรงทนทานและสามารถรับน้ำหนักของระบบโซลาร์เซลล์ได้

นอกจากนี้ การเตรียมพื้นที่ ยังจะช่วยให้สามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์และใช้ได้ยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นหลังคาโซลาร์เซลล์ หรือการติดตั้งบนพื้นดินก็ตาม 

4. การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ด้วยมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด

นำแผงโซลาร์เซลล์มาติดตั้งบนโครงสร้างที่เตรียมไว้ โดยต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าแผงโซลาร์เซลล์ติดตั้งในตำแหน่งที่เหมาะสมกับการรับแสงอาทิตย์มากที่สุด ซึ่งแผงโซลาร์เซลล์แต่ละแผงจะถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน และเชื่อมต่อกับสายไฟหลักที่นำไปยังอินเวอร์เตอร์ ด้วยการดำเนินการจากช่างผู้ชำนาญและมีประสบการณ์ โดยตลอดกระบวนการติดตั้งจะต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน ปฏิบัติตามขั้นตอนการทำงานที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการติดตั้ง ซึ่งรวมถึง

  • การตรวจสอบความแข็งแรงของโครงสร้างที่ใช้รองรับแผงโซลาร์เซลล์ให้สามารถรับน้ำหนักได้อย่างปลอดภัย
  • การต่อสายไฟอย่างถูกต้องและรัดกุม เพื่อป้องกันไฟฟ้าช็อตและลัดวงจร
  • การทดสอบระบบการทำงานของแผงโซลาร์เซลล์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อให้มั่นใจว่าระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

5. การติดตั้งอินเวอร์เตอร์

อินเวอร์เตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าตรงที่ได้จากแผงโซลาร์เซลล์ให้เป็นกระแสไฟฟ้าสลับ ทำให้สามารถนำกระแสไฟไปใช้ได้ทั้งในบ้านหรือโรงงาน จึงต้องเลือกตำแหน่งที่เหมาะสมในการติดตั้ง เพื่อเชื่อมต่อกับสายไฟหลักที่มาจากแผงโซลาร์เซลล์ และเชื่อมต่อเข้ากับระบบไฟฟ้าของบ้านหรือโรงงานของท่าน

ถึงแม้จะมีขั้นตอนการติดตั้งโซลาร์เซลล์ทั่วไปไม่ต่างกัน แต่สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมอาจต้องมีการออกแบบระบบ รวมถึงการขอใบอนุญาตในการติดตั้งที่ซับซ้อนมากขึ้นกว่าการติดตั้งในบ้าน หรือในครัวเรือน เนื่องจากความต้องการใช้ไฟฟ้าที่หลากหลายและปริมาณที่มาก นอกจากนี้ทั้งบ้านโซลาร์เซลล์และโรงงานต่างก็จำเป็นต้องได้รับการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน การทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อขจัดฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกที่เกาะอยู่บนแผง ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้า

ไม่ว่าจะเป็นบ้านโซลาร์เซลล์ หรือการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในโรงงาน ก็ควรต้องดำเนินการโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการติดตั้งระบบโดยเฉพาะ เพื่อให้สามารถออกแบบ และดำเนินการติดตั้งได้ตามมาตรฐาน International Standards เพื่อเสริมความมั่นใจในการวางแผนและติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ให้เป็นไปอย่างปลอดภัย ตามหลักการ และมีประสิทธิภาพมากที่สุด สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจให้ กรีน เยลโล่ บริการดูแลโครงการโซลาร์เซลล์สำหรับโรงงาน ผ่านโซลูชัน Solar PPA ในทุก ๆ ขั้นตอน ตั้งแต่การลงทุน ไปจนถึงการขอใบอนุญาต ติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อใช้งาน พร้อมการดูแลรักษาฟรีตลอดระยะเวลาสัญญา 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ข้อมูลอ้างอิง:

  1. Your Guide To Commercial Solar Panel Installation. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2567 จาก https://www.forbes.com/home-improvement/solar/commercial-solar-panel-installation-companies/ 
  2. การขออนุญาต ติดตั้ง Solar Rooftop ตามกฏหมาย. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2567 จาก https://www.gaa-moph.com/file/file323122565.pdf 

ประหยัดค่าไฟฟ้าได้ถึงหลักล้านง่ายๆ เพียงติดต่อเราวันนี้ ติดต่อเรา

บทความโดย

แชร์บทความนี้
Facebook
Twitter
LinkedIn
X
Pinterest
WhatsApp

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

คูลลิ่งทาวเวอร์ คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการระบายความร้อนจากน้ำหล่อเย็น

คูลลิ่งทาวเวอร์ โซลูชันประหยัดพลังงานสำคัญในอุตสาหกรรม

คูลลิ่งทาวเวอร์ คือโซลูชันระบบระบายความร้อนที่ช่วยลดการใช้พลังงานและต้นทุนในระบบทำความเย็น พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

อ่านเพิ่มเติม
CBAM มาตรการปรับภาษี Carbon ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรม

มาตรการ CBAM คืออะไร ? ทำไมธุรกิจต้องเตรียมพร้อมรับมือ !

CBAM คือมาตรการลดการปล่อยคาร์บอนด้วยการปรับภาษีของ EU ซึ่งจะส่งผลต่อสินค้าคาร์บอนสูง เช่น เหล็ก ปูนซีเมนต์ ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องเตรียมตัวให้พร้อม !

อ่านเพิ่มเติม
ชีวมวลเป็นแหล่งพลังงานได้อย่างไร ? ด้วยกระบวนการแปรรูปทางเคมี จากวัสดุธรรมชาติ

การผสมผสานพลังงานทดแทนระหว่างพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานชีวมวล

พลังงานชีวมวล คือแหล่งพลังงานสะอาดที่ได้จากวัสดุธรรมชาติ เช่น เศษไม้ กากพืช โดยใช้ผลิตไฟฟ้า ความร้อน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แหล่งพลังงานทดแทน

อ่านเพิ่มเติม

Free consultation