fbpx

ศึกษาปัจจัยเพิ่มประสิทธิภาพของโซลาร์เซลล์ให้ใช้งานคุ้มค่า !

ทำความเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของโซลาร์เซลล์ เพื่อให้สามารถตัดสินใจเลือกติดตั้งได้อย่างคุ้มค่า ตรงกับความต้องการมากที่สุด
ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของโซลาร์เซลล์

ในปัจจุบัน พลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์กลายเป็นทางเลือกที่น่าสนใจและมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยโซลาร์เซลล์ หรือเซลล์แสงอาทิตย์ เป็นเทคโนโลยีสำคัญที่ช่วยในการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของโซลาร์เซลล์นั้นอาจขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย การทำความเข้าใจถึงปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้สามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของโซลาร์เซลล์

ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของพื้นที่ที่ต้องการติดตั้ง

ก่อนที่จะติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ สิ่งแรกที่ต้องพิจารณา คือ การประเมินปริมาณไฟฟ้าที่ต้องการใช้ในพื้นที่ที่จะติดตั้ง โดยสำรวจพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า เพื่อออกแบบระบบโซลาร์เซลล์ได้ตรงตามความต้องการ ไม่ว่าจะเป็น โรงงาน ห้าง หรือโรงแรม การออกแบบระบบที่เหมาะสมจะช่วยให้ได้ประสิทธิภาพของโซลาร์เซลล์ที่คุ้มค่าต่อการใช้งานมากที่สุด โดยอาจเริ่มจากการตรวจสอบบิลค่าไฟฟ้าย้อนหลัง 12 เดือน เพื่อดูพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยต่อเดือน แล้วนำไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านโซลาร์เซลล์ เพื่อให้คำแนะนำในการเลือกขนาดและจำนวนแผงโซลาร์เซลล์ที่เหมาะสม

ประเภทของแผงโซลาร์เซลล์

ประเภทของแผงโซลาร์เซลล์มีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่

  • แบบผลึกเดี่ยว (Monocrystalline) 

เป็นแผงโซลาร์เซลล์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากผลิตจากซิลิคอนเกรดดีที่บริสุทธิ์ที่สุด โดยแต่ละเซลล์มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมมุมตัดทั้ง 4 มุมและมีสีดำสนิท ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและให้ความรู้สึกทันสมัย

  • แบบผลึกรวม (Polycrystalline) 

เป็นแผงโซลาร์เซลล์ที่มีขั้นตอนการผลิตง่าย เพียงเทผลึกซิลิคอนที่หลอมเหลวลงในแม่พิมพ์สี่เหลี่ยม มักจะมีสีน้ำเงินอมฟ้า หรือม่วง โดยจะยิ่งมีประสิทธิภาพสูงในที่ที่มีอุณหภูมิสูง อีกทั้งยังมีราคาไม่แพงมาก 

  • แบบฟิล์มบาง (Thin-film) 

เป็นแผงโซลาร์เซลล์ที่นำวัสดุที่สามารถแปลงแสงเป็นไฟฟ้ามาเคลือบเป็นชั้นบาง ๆ บนแผ่นรองรับ ทำให้แผงมีน้ำหนักเบาและมีความยืดหยุ่นสูง เหมาะสำหรับการติดตั้งในพื้นที่ที่ไม่เรียบเสมอกัน เช่น หลังคาโค้ง หรือแม้แต่บนตัวอาคาร แต่มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับแผงโซลาร์เซลล์ประเภทอื่น

การเลือกแผงโซลาร์เซลล์ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น งบประมาณ พื้นที่ติดตั้ง ความต้องการใช้ไฟฟ้า และอายุการใช้งานที่ต้องการ จึงควรปรึกษาและขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ได้ประเภทของแผงโซลาร์เซลล์ที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด

มุมและทิศติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่เหมาะสม

มุมและทิศทางในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์

การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในทิศทางที่เหมาะสม จะช่วยให้แผงได้รับแสงแดดมากที่สุด ส่งผลให้ผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น โดยทิศติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่ดีที่สุด คือทิศใต้ที่ได้รับแสงสว่างตลอดวัน เพราะตามธรรมชาติที่มีทั้งปัจจัยโลกหมุนรอบตัวเอง แกนโลกที่เอียง 23.5 องศาตามระนาบวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้เราเห็นว่าพระอาทิตย์จะเคลื่อนที่จากทิศตะวันออกไปยังตะวันตกโดยค่อนไปทางทิศใต้ จึงควรหันแผงเข้าหาทิศทางนี้โดยทำมุมประมาณ 15 องศากับพื้นราบ เพื่อให้แสงอาทิตย์กระทบตั้งฉากกับแผงโซลาร์เซลล์ในช่วงเวลากลางวันได้มากที่สุด นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการหันแผงไปทางทิศเหนือ ซึ่งเป็นทิศที่พระอาทิตย์ไม่ได้เคลื่อนตัวเบี่ยงไปทางทิศนั้นมากนัก รวมถึงควรเลือกพื้นที่ติดตั้งที่โล่ง ปราศจากเงาของต้นไม้ หรือสิ่งก่อสร้างที่อาจบังแสงอาทิตย์ ทำให้เกิดจุดร้อน (Hot Spot) ซึ่งเป็นบริเวณที่เซลล์แสงอาทิตย์ส่วนหนึ่งได้รับแสงแดดมากกว่าส่วนอื่นและทำให้เกิดความร้อนสูงขึ้นอย่างผิดปกติ จนส่งผลให้ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าของแผงโซลาร์เซลล์ลดลงและเสื่อมสภาพเร็วขึ้น

การบำรุงรักษาและความสะอาด

ฝุ่นละออง สิ่งสกปรก หรือคราบที่เกาะอยู่บนแผงโซลาร์เซลล์ ล้วนเป็นอุปสรรคต่อประสิทธิภาพของโซลาร์เซลล์ ซึ่งอาจทำให้กำลังในการผลิตไฟฟ้าลดลง การบำรุงรักษาแผงโซลาร์เซลล์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและอายุการใช้งานของระบบ ควรทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์อย่างสม่ำเสมอ และตรวจสอบการทำงานของระบบเป็นประจำ

อุปกรณ์ควบคุม

เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความเสถียรของระบบเซลล์แสงอาทิตย์ โดยอุปกรณ์หลักที่มีผลต่อประสิทธิภาพ เช่น 

  • อินเวอร์เตอร์ (Inverter) ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสตรงที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์เซลล์เป็นไฟฟ้ากระแสสลับที่สามารถใช้งานได้ในอาคาร การเลือกอินเวอร์เตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงจะช่วยลดการสูญเสียพลังงานในกระบวนการแปลงกระแสไฟฟ้า
  • MPPT Tracker (Maximum Power Point Tracker) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ระบบสามารถผลิตไฟฟ้าได้สูงสุดตามสภาพแสงในแต่ละช่วงเวลา

อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนคงทราบแล้วว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่ต้องพิจารณาก่อนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ดังนั้น การเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพควบคู่ไปกับการติดตั้งโดยผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยให้ระบบโซลาร์เซลล์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ! หมดกังวลเรื่องการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในโรงงาน ให้ GreenYellow เริ่มดูแลตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบให้สอดคล้องกับแต่ละธุรกิจ พร้อมลงทุน-ดำเนินการติดตั้ง รวมไปถึงการดูแล บำรุงรักษา ตรวจสอบ แบบครบวงจรให้ฟรีตลอดอายุสัญญา เพื่อให้สามารถใช้งานโซลาร์เซลล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ข้อมูลอ้างอิง:

  1. รู้ก่อนติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2567 จาก https://oldwww.dede.go.th/ewt_dl_link.php?nid=55175
  2. แผงโซลาร์เซลล์ มีกี่แบบ ควรเลือกอย่างไร?. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2567 จาก https://www.baanlaesuan.com/187612/maintenance/electric-system/solar-panel
ประหยัดค่าไฟฟ้าได้ถึงหลักล้านง่ายๆ เพียงติดต่อเราวันนี้ ติดต่อเรา

บทความโดย

แชร์บทความนี้
Facebook
Twitter
LinkedIn
X
Pinterest
WhatsApp

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

คูลลิ่งทาวเวอร์ คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการระบายความร้อนจากน้ำหล่อเย็น

คูลลิ่งทาวเวอร์ โซลูชันประหยัดพลังงานสำคัญในอุตสาหกรรม

คูลลิ่งทาวเวอร์ คือโซลูชันระบบระบายความร้อนที่ช่วยลดการใช้พลังงานและต้นทุนในระบบทำความเย็น พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

อ่านเพิ่มเติม
CBAM มาตรการปรับภาษี Carbon ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรม

มาตรการ CBAM คืออะไร ? ทำไมธุรกิจต้องเตรียมพร้อมรับมือ !

CBAM คือมาตรการลดการปล่อยคาร์บอนด้วยการปรับภาษีของ EU ซึ่งจะส่งผลต่อสินค้าคาร์บอนสูง เช่น เหล็ก ปูนซีเมนต์ ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องเตรียมตัวให้พร้อม !

อ่านเพิ่มเติม
ชีวมวลเป็นแหล่งพลังงานได้อย่างไร ? ด้วยกระบวนการแปรรูปทางเคมี จากวัสดุธรรมชาติ

การผสมผสานพลังงานทดแทนระหว่างพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานชีวมวล

พลังงานชีวมวล คือแหล่งพลังงานสะอาดที่ได้จากวัสดุธรรมชาติ เช่น เศษไม้ กากพืช โดยใช้ผลิตไฟฟ้า ความร้อน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แหล่งพลังงานทดแทน

อ่านเพิ่มเติม

Free consultation